ประวัติความเป็นมา

   ความเป็นมา พื้นที่ตามแนวชายแดนของประเทศ มีความสำคัญยิ่งต่อการรักษาเอกราชอธิปไตยและความมั่นคงของชาติ ภารกิจในการรักษาความมั่นคงตามแนวชายแดนนั้น มิได้หมายถึงการสร้างรั้ว เครื่องกีดขวาง การวางกำลังทหาร กองกำลังตำรวจตระเวนชายแดน  เพื่อตรึงแนวชายแดนเท่านั่น แต่ยังหมายถึงภารกิจที่ต้องฟื้นฟูศักยภาพของประชาชนให้เข้มแข็งทุกด้าน  ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  จิตวิทยา การเมืองการปกครอง เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านตามแนวชายแดนให้สูงขึ้น พร้อมที่จะเป็น “ปราการพลังประชาชน” 

   ช่วงเริ่มต้น ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง การปกครองในประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือ ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ทำให้เกิดความขัดแย้งภายใน และเกิดสงครามอย่างรุนแรง รวมทั้งได้มี ผกค.ไทยที่ตั้งฐานปฏิบัติการในประเทศกัมพูชา ได้ร่วมกับทหารกัมพูชาเข้ามาปล้นสะดม โจมตีเผาหมู่บ้าน  กวาดต้อนราษฎรไทยบริเวณชายแดนไปเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่ชายแดนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะราษฎรไทยใน ๗ จังหวัด ที่อาศัยอยู่ในบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา  ยังผลให้ราษฎรไทยได้รับบาดเจ็บ  และเสียชีวิตเป็นจานวนมาก  สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ต้องอพยพจากถิ่นฐานเดิม ปี พ.ศ.๒๕๒๑ เพื่อแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากกำลังจากภายนอกประเทศและการกระทำของ ผกค. ดังกล่าว รวมทั้งปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อ ๓ ต.ค.๒๑ อนุมัติให้จัดตั้ง โครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย–กัมพูชา ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของกองบัญชาการทหารสูงสุด (บก.ทหารสูงสุด) ด้วยการสร้างชุมชนในพื้นที่บริเวณชายแดน ให้มีระบบป้องกันที่เข้มแข็ง มีระบบเศรษฐกิจที่ดี เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนสร้างความกินดีอยู่ดีให้แก่ราษฎรไทย โดยมีหลักการที่สาคัญที่จะไม่ให้ราษฎรละทิ้งหมู่บ้านและพื้นที่บริเวณชายแดน ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้ามจะเข้ามาใช้พื้นที่บริเวณชายแดนที่ไม่มีราษฎรอาศัยอยู่ได้สะดวกยิ่งขึ้น และเพื่อเตรียมกาลังประชาชนให้พร้อมในการผนึกกำลังกับกำลังทหารและกาลังกึ่งทหาร ตามยุทธศาสตร์การต่อสู้เบ็ดเสร็จ ปี พ.ศ.๒๕๒๔ คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติให้จัดตั้ง หมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-ลาว, ไทย-พม่า และ ไทย-มาเลเชีย ตามลำดับ ปี พ.ศ.๒๕๒๖ คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติให้จัดตั้ง สำนักงานเลขานุการโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน (สล.ปชด.ศอร.บก.ทหารสูงสุด) ขึ้น เพื่อเป็นหน่วยประสานงานกับหน่วยต่างๆ ที่ร่วมดำเนินงานในโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน ซึ่งประกอบด้วย ๘ กระทรวงหลัก (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงแรงงาน, กระทรวงกลาโหม) และ ๒ หน่วยงานเสริม (การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สานักงานอัยการสูงสุด)


   การดำเนินงานโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.) ได้เริ่มดำเนินงานโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-กัมพูชา ในพื้นที่ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด ตั้งแต่ปี งป.๒๒ โดยให้ กองกิจการพลเรือนฯ (กพร.กปช.จต.) เป็นหน่วยรับผิดชอบในการดำเนินงานต่อมา ทร. อนุมัติให้ กปช.จต. จัดตั้ง สำนักงานพัฒนาพื้นที่ชายแดน (สนง.พชด.กปช.จต.) ขึ้นเป็นการชั่วคราว เมื่อ ๒๐ ม.ค.๓๑ ประกอบด้วย สำนักงานฯ และ ชป.พัฒนา ๒ ชุด อัตรากำลังพล ๖๑ นาย แต่ กปช.จต.ไม่สามารถบรรจุกำลังพลปฏิบัติราชการได้ เนื่องจากขัดข้องด้าน งป.ปี งป.๓๑ ศอร.บก.ทหารสูงสุด สนับสนุน งป.จำนวน ๑,๑๐๐,๐๐๐.-บาท ก่อสร้างอาคาร สนง.พชด.กปช.จต. โดยให้ ศอร.บก.ทหารสูงสุด เป็นผู้ดาเนินการในการก่อสร้างและเบิกจ่าย งป. ๑ พ.ค.๓๒ ทร.ได้รับ งป.สำหรับจัดตั้งสานักงานประสานงานพัฒนาพื้นที่ชายแดน จากสำนัก งป. และได้รับอนุมัติอัตราในส่วนของ ทร. จาก บก.ทหารสูงสุด เพื่อบริหารงานโครงการให้มีความต่อเนื่อง มีเจ้าหน้าที่กำกับดูแลรับผิดชอบโดยตรง ทร.จึงอนุมัติให้ กปช.จต.จัดตั้ง สำนักงานประสานงานพัฒนาพื้นที่ชายแดน (สนง.พชด.) เมื่อ ๓๑ พ.ค.๓๒ โดยเป็นหน่วยขึ้นตรง สล.ปชด.ศอร.บก.ทหารสูงสุด ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ กปช.จต. มีโครงสร้างการจัด ๒ ระดับ คือ สำนักงานประสานงานพัฒนาพื้นที่ชายแดน (สนง.พชด.) กับ ชุดปฏิบัติการพัฒนา (ชป.พัฒนา) ๔ ชุด ปฏิบัติงานในพื้นที่ จ.จันทบุรี ๒ ชุด คือ ชป.พัฒนา ๑๑ และ ๑๒ ขึ้นการควบคุมทางยุทธการกับ ฉก.นย.จันทบุรี ส่วน ชป.พัฒนา ที่อยู่ในพื้นที่ จ.ตราด จานวน ๒ ชุด คือ ชป.พัฒนา ๒๑ และ ๒๒ ขึ้นการควบคุมทางยุทธการกับ ฉก.นย.ตราด ๒๗ ส.ค.๓๒ กปช.จต. ยกเลิกการขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ ฉก.นย.จังหวัด มาเป็น การประสานงานกับ ฉก.นย. จังหวัด และขึ้นการควบคุมทางยุทธการเมื่อสั่ง ต่อมาในปี งป.๓๕ มีการปรับและเปลี่ยนแปลงสายการบังคับบัญชา ให้ สนง.พชด.กปช.จต. เป็นหน่วยขึ้นตรง กปช.จต. และเป็นฝ่ายกิจการพิเศษเกี่ยวกับโครงการหมู่บ้าน ปชด. ปี งป.๓๙ ผบ.ทหารสูงสุด/ผอ.ศอร.บก.ทหารสูงสุด ได้อนุมัติเมื่อ ๑ พ.ย.๓๙ ให้ปรับโครงสร้างและแก้ไขอัตราเฉพาะกิจจากเดิม ๒ ระดับ เป็น ๔ ระดับ เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างการจัดและอัตราเฉพาะกิจของ ศพชด.ทภ. ของ ทบ.คือ
  ๑.ศูนย์พัฒนาพื้นที่ชายแดน (ศพชด.)
  ๒.สำนักงานพัฒนาพื้นที่ชายแดน (สง.พชด.)
  ๓.หน่วยเฉพาะกิจโครงการหมู่บ้านป้องกันชายแดน (ฉก.ปชด.)  
  ๔.ชุดปฏิบัติการพัฒนา (ชป.พัฒนา)
แก้ไขอัตราเฉพาะกิจของ สนง.พชด.ศพชด.กปช.จต. ในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงาน (อัตรานาวาเอกพิเศษ อันดับ ๒) เป็นผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาพื้นที่ชายแดน (อัตราพลเรือตรี)


   ปี งป.๔๐ ทร.ได้เสนอ ศอร.ฯ ขอปรับโครงสร้างการจัดหน่วยและอัตราเฉพาะกิจ ศพชด.กปช.จต.ใหม่ ทั้ง ๔ ระดับ ซึ่งเป็นการปรับในส่วนรายละเอียดโครงสร้างและอัตราของหน่วยย่อย ของโครงสร้างการจัดในปี งป.๓๙ โดยเฉพาะในระดับ ฉก.ปชด.จังหวัด ได้กำหนดอัตราต่างๆ ไว้เพื่อให้เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานกิจการพลเรือน ด้านการพัฒนาประเทศ ตามอัตราที่ปรับใหม่นี้กำหนดให้ ผบ.ฉก.นย.จันทบุรี/ตราด ทาหน้าที่ ผบ.ฉก.ปชด.จันทบุรี/ตราด (ปี งป. ๓๙ กำหนดให้ ฉก.นย.จันทบุรี ทำหน้าที่แทน ฉก.ปชด.จันทบุรี และ ฉก.นย.ตราด ทำหน้าที่แทน ฉก.ปชด.ตราด แต่ตำแหน่งต่างๆ ในอัตราระดับ ฉก.ปชด.ไม่ได้กำหนดไว้) ต่อมา ศอร.บก.ทหารสูงสุด ได้มีหนังสือชี้แจงว่า การขอปรับโครงสร้างการจัดหน่วยปฏิบัติงานโครงการหมู่บ้าน ปชด. ทั้ง ๔ ระดับ ตามที่เสนอเป็นไปตามกรอบและแนวทางที่ เสธ.ทหาร ได้เคยอนุมัติไว้แล้ว เมื่อ ๔ ก.ย.๓๒ จึงสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องอนุมัติใหม่ ปี งป.๔๑ ประเทศไทยประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบให้กับ ศพชด.กปช.จต. ไม่ได้รับ งป.ในการบริหารหน่วย จึงได้ปิดการบรรจุตำแหน่งต่างๆ เว้นตาแหน่ง ผอ.ศพชด.กปช.จต. แต่เนื่องจากการปฏิบัติงานตามโครงการหมู่บ้าน ปชด.ไทย–กัมพูชา ยังคงอยู่ตามปกติ กปช.จต. จึงได้พิจารณาบรรจุกำลังพลต่างๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามโครงการหมู่บ้าน ปชด. ได้ โดยในส่วนของ ศพชด.กปช.จต.(บก.) ได้ลงคำสั่งบรรจุในตำแหน่งต่างๆ ภายในอัตราของ กปช.จต./กจต. แล้วลงคำสั่งมาช่วยราชการ ศพชด.กปช.จต. อีกต่อหนึ่ง สำหรับ ชป.พัฒนาได้ลงคำสั่งให้ ชปศ.๖๑๔ ปฏิบัติหน้าที่ ชป.พัฒนา ๑๑, พัน.ร.ฉก.นย.จันทบุรี จัดกำลังพลปฏิบัติหน้าที่ ชป.พัฒนา ๑๒, ชปศ.๖๑๓ ปฏิบัติหน้าที่ ชป.พัฒนา ๒๑ และ ชปศ.๖๑๕ ปฏิบัติหน้าที่ ชป.พัฒนา ๒๒ อีกตำแหน่งหนึ่ง ตามลำดับ นอกจากนั้นยังลงคำสั่งให้ ผบ.ศปศ.๖๑ ปฏิบัติหน้าที่ รอง ผอ.ศพชด.กปช.จต. อีกหนึ่งตำแหน่งด้วย ปี งป.๔๒ ยกเลิกคำสั่ง ผบ.ศปศ.๖๑ ปฏิบัติหน้าที่ รอง ผอ.ศพชด.กปช.จต. (บรรจุกำลังพลเช่นเดียวกับปี งป.๔๑) ปี งป.๔๓ กำลังพลของ ศพชด.กปช.จต. บรรจุเช่นเดียวกับปี งป.๔๒ ยกเว้น ชป.พัฒนา ๒๒ จัดกำลังพลจาก พัน.ป.กจต. ปฏิบัติหน้าที่ ชป.พัฒนา ๒๒ แทน ชปศ.๖๑๕ ตั้งแต่ ๓๑ มี.ค.๔๓ ปี งป.๔๔ ศพชด.กปช.จต. ได้รับ งป.ในการดำเนินงาน จึงได้บรรจุกำลังพลในระดับ ศพชด. และ ชป.พัฒนา จำนวน ๔ ชป. เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด


   ที่ตั้งหน่วยและพื้นที่รับผิดชอบ
ศพชด.กปช.จต. ตั้งอยู่ที่ ค่ายตากสิน อ.เมือง จ.จันทบุรี  รับผิดชอบหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน ๑๙ หมู่บ้าน  พื้นที่ จ.จันทบุรี ๑๒ หมู่บ้าน  ในเขต ๒ อำเภอ คือ อ.โป่งน้าร้อน และ อ.สอยดาว และพื้นที่ จ.ตราด ๗ หมู่บ้าน ในเขต ๓ อำเภอ คือ อ.เมือง, อ.บ่อไร่ และ อ.คลองใหญ่ โดยแบ่งความรับผิดชอบ ดังนี้
ฉก.ปชด.จันทบุรี ตั้งอยู่ที่ บ.คลองตานี ต.ทับไทร อ.โป่งน้าร้อน จ.จันทบุรี รับผิดชอบ ๑๒ หมู่บ้าน ดังนี้ .-
ชุดปฏิบัติการพัฒนา ๑๑ ตั้งอยู่ที่ บ.สะตอน ต.สะตอน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี รับผิดชอบ ๕ หมู่บ้าน
- บ.คลองเม่น หมู่ที่ ๑๐ ต.ทุ่งขนาน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี
- บ.ซับตารี หมู่ที่ ๒ ต.ทุ่งขนาน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี
- บ.สวนส้ม หมู่ที่ ๕ ต.สะตอน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี
- บ.ทรัพย์สมบูรณ์ หมู่ที่ ๖ ต.สะตอน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี
- บ.สะตอน หมู่ที่ ๑ ต.สะตอน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี
ชุดปฏิบัติการพัฒนา ๑๒ อยู่ที่ บ.คลองบอน ต.หนองตาคง อ.โป่งน้าร้อน จ.จันทบุรี รับผิดชอบ ๗ หมู่บ้าน
- บ.เนินดินแดง หมู่ที่ ๑ ต.เทพนิมิต อ.โป่งน้าร้อน จ.จันทบุรี
- บ.บึงชนังกลาง หมู่ที่ ๓ ต.เทพนิมิต อ.โป่งน้าร้อน จ.จันทบุรี
- บ.ผักกาด หมู่ที่ ๓ ต.คลองใหญ่ อ.โป่งน้าร้อน จ.จันทบุรี
- บ.คลองใหญ่ หมู่ที่ ๔ ต.คลองใหญ่ อ.โป่งน้าร้อน จ.จันทบุรี
- บ.ซับตาเมา หมู่ที่ ๕ ต.หนองตาคง อ.โป่งน้าร้อน จ.จันทบุรี
- บ.คลองบอน หมู่ที่ ๔ ต.หนองตาคง อ.โป่งน้าร้อน จ.จันทบุรี
ฉก.ปชด.ตราด ตั้งอยู่ที่ บ.เนินสูง ต.ตะกาง อ.เมือง จ.ตราด รับผิดชอบ ๗ หมู่บ้าน ดังนี้ 
ชุดปฏิบัติการพัฒนา ๒๑ ตั้งอยู่ที่ บ.มะม่วง ต.นนทรีย์ อ.บ่อไร่ จ.ตราด รับผิดชอบ ๔ หมู่บ้าน
- บ.ด่านชุมพล หมู่ที่ ๑ ต.ด่านชุมพล อ.บ่อไร่ จ.ตราด
- บ.มะม่วง หมู่ที่ ๓ ต.นนทรีย์ อ.บ่อไร่ จ.ตราด
- บ.มะนาว หมู่ที่ ๑ ต.บ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด
- บ.ปะอา หมู่ที่ ๒ ต.บ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด
ชุดปฏิบัติการพัฒนา ๒๒ ตั้งอยู่ที่ บ.นาเกลือ ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด รับผิดชอบ ๓ หมู่บ้าน
- บ.นาเกลือ หมู่ที่ ๒ ต.ชาราก อ.เมือง จ.ตราด
- บ.ท่ากุ่ม หมู่ที่ ๓ ต.ท่ากุ่ม อ.เมือง จ.ตราด
- บ.เจ๊กลัก หมู่ที่ ๑ ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
รวมหมู่บ้าน ปชด. จำนวน ๑๙ หมู่บ้าน

  ปัจจุบัน
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง   ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดนเพื่อเป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานบริเวณพื้นที่ชายแดน ต่อมาได้กำหนดแผนพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๙) โดยยึดถือเป็นแผนแม่บทยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน ตามแผนพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๙) ได้กำหนดให้มีการพัฒนาพื้นที่ ศักยภาพของคน และชุมชนในพื้นที่เป้าหมายชายแดนให้มีความมั่นคงปลอดภัย มีจิตสานึกด้านความมั่นคง ตลอดจนได้กำหนดยุทธศาสตร์ การผนึก กำลังเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงบริเวณชายแดนขึ้น ได้แก่ การจัดให้มีระบบป้องกันตามแนวชายแดนให้สอดคล้องกับแผนป้องกันประเทศ โดยมีขอบเขตพื้นที่เป้าหมายใน ๓๐ จังหวัดชายแดน และจังหวัดปัตตานี โดยเน้นอำเภอชายแดน ๑๒๙ อำเภอ มีตำบลชายแดน และถัดจากตำบลชายแดน รวม ๓๖๘ ตำบล (ไม่รวมอำเภอและตำบลในจังหวัดปัตตานี) จานวน ๓,๖๐๑ หมู่บ้าน ๒๑ พ.ค.๔๗ รัฐบาลได้มีการปรับปรุงกลไกการบริหารงานการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ โดยออก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ เพื่อกำหนดองค์กรการบริหารจัดการตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดนและการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ ทั้งใน ระดับนโยบาย ระดับภาค และระดับจังหวัด เพื่อให้เกิดเอกภาพ ประสิทธิภาพ และดุลยภาพ ในการดำเนินงานของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ (นพช.)

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ ได้กำหนดให้มี
- คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ เรียกชื่อย่อว่า “นพช.” มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนแม่บท และมาตรการในการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ
- คณะอนุกรรมการประสานการจัดระบบป้องกันเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน เรียกชื่อย่อว่า “อปป.” มีอำนาจหน้าที่
กำหนดนโยบายและมาตรการในการจัดระบบป้องกันและการสื่อสารตามแนวชายแดนเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน ให้สอดคล้องกับแผนป้องกันประเทศและระบบการต่อสู้เบ็ดเสร็จ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม และสนับสนุนการปฏิบัติงานของทหาร หน่วยราชการและหน่วยงานของรัฐ ทั้งในภาวะปกติและไม่ปกติ อปป. ได้กำหนดนโยบายและมาตรการในการจัดระบบป้องกันและการสื่อสารเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน (พ.ศ.๒๕๔๗ - ๒๕๔๙) และได้จัดทำแผนแม่บทสาหรับการจัดระบบป้องกันและการสื่อสาร เพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน (พ.ศ.๒๕๔๘ – ๒๕๕๑) ให้หน่วยที่เกี่ยวข้อง นำไปพิจารณาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ตามนโยบายและมาตรการของ อปป. ทำให้ ศพชด.กปช.จต. ต้องปรับเปลี่ยนภารกิจ จาก การดำเนินโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-กัมพูชา เป็น การจัดระบบป้องกันและการสื่อสารเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน ในส่วนของ ทบ. นั้น นอกจากเปลี่ยนภารกิจแล้ว ศพชด.ทภ. ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยจาก ศูนย์พัฒนาพื้นที่ชายแดน เป็น ศูนย์จัดระบบป้องกันเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน ด้วย ส่วนภารกิจ และนามหน่วยของ ศพชด.กปช.จต. นั้น ได้ถูกกำหนดไว้ใน อฉก.ศพชด.กปช.จต. ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการทางด้านเอกสารเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสอดคล้องกับหน่วยอื่นที่มีภารกิจเดียวกัน ศพชด.กปช.จต. จึงได้ขออนุมัติปรับแก้นามหน่วยและภารกิจ เมื่อ ๑๗ ม.ค.๔๙ เสนอ กปช.จต. พิจารณาเสนอ ศปก.ทร. เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป เมื่อ ๑ พ.ค.๔๙ ทร.ได้อนุมัติให้ ศพชด.กปช.จต. เปลี่ยนนามหน่วยและภารกิจ เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ โดย ศพชด.กปช.จต. ได้เปลี่ยนนามหน่วยและภารกิจ ดังนี้

  ปรับแก้นามหน่วย
“ศูนย์พัฒนาพื้นที่ชายแดน กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด” อักษรย่อ “ศพชด.กปช.จต.” เปลี่ยนเป็น “ศูนย์จัดระบบป้องกันเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด” อักษรย่อ “ศปชด.กปช.จต.”
“สำนักงานพัฒนาพื้นที่ชายแดน ศูนย์พัฒนาพื้นที่ชายแดน กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด” อักษรย่อ “สง.พชด.ศพชด.กปช.จต.” เปลี่ยนเป็น “สำนักงานจัดระบบป้องกันเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน ศูนย์จัดระบบป้องกันเพื่อ จัดระเบียบพื้นที่ชายแดน” อักษรย่อ “สง.ปชด.ศปชด.กปช.จต.”
“หน่วยเฉพาะกิจโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน.สำนักงานพัฒนาพื้นที่ชายแดน” อักษรย่อ “ฉก.ปชด.สง.พชด.” เปลี่ยนเป็น “หน่วยเฉพาะกิจจัดระบบป้องกันเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน.สานักงานจัดระบบป้องกันเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน” อักษรย่อ “ฉก.ปชด.สง.ปชด.”
“ชุดปฏิบัติการพัฒนา... .หน่วยเฉพาะกิจโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน” อักษรย่อ “ชป.พัฒนา.....” เปลี่ยนเป็น “ชุดปฏิบัติการที่.....หน่วยเฉพาะกิจจัดระบบป้องกันเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน” อักษรย่อ “ชป.ที่.....” จากการปรับเปลี่ยนภารกิจใหม่ของ ศปชด.กปช.จต. ทำให้พื้นที่รับผิดชอบของ ชป.ฯ มีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ ชป.ที่ ๒๒ ฯ ที่รับผิดชอบถึง ๒ อำเภอ ๗ ตำบล และเพิ่มภารกิจรับผิดชอบหมู่บ้าน จากเดิม ๓ หมู่บ้าน เป็น ๔๘ หมู่บ้าน รวมระยะทางตามแนวชายแดน ๘๐ ก.ม. (ชป.ฯ อื่นๆ ประมาณ ๔๕ ก.ม.) ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติภารกิจของ ชป.ฯ ไม่มีประสิทธิภาพครอบคลุมเท่าที่ควร ดังนั้น      ศปชด.กปช.จต. จึงได้ขออนุมัติจัดตั้งชุดปฏิบัติการเพิ่มเติม ๑ ชุด เพื่อรับผิดชอบพื้นที่ ๓ ตำบลในเขต อ.คลองใหญ่ จ.ตราด โดยเฉพาะ กปช.จต. ได้อนุมัติให้ ศปชด.กปช.จต.จัดตั้ง ชป.ที่ ๒๓ เมื่อ ๑ เม.ย.๕๐ โดยเป็นหน่วยขึ้นตรง ฉก.ปชด.ตราด มีที่ตั้งชั่วคราวอยู่ที่ รร.บ้านหนองม่วง ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด และต่อมาย้ายที่ตั้งมาอยู่ที่ บริเวณอ่างเก็บน้ำ บ.ห้วงบอน ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 

  ที่ตั้งหน่วยและพื้นที่รับผิดชอบ
ที่ตั้งหน่วย เพิ่มเติมชุดปฏิบัติการอีก ๑ ชุด ในพื้นที่ จ.ตราด พื้นที่รับผิดชอบ จากการปรับเปลี่ยนภารกิจใหม่ทำให้ ศปชด.กปช.จต. ที่มีพื้นที่รับผิดชอบใน จ.จันทบุรี กับ จ.ตราด ใน ๕ อำเภอ ขยายมากขึ้น จากเดิม ๑๙ หมู่บ้าน ปชด. เป็น ๑๗ ตำบลชายแดน ๑๓๕ หมู่บ้าน โดยแบ่งมอบให้หน่วยในสังกัด รับผิดชอบ ดังนี้
  ฉก.ปชด.จันทบุรี มีพื้นที่รับผิดชอบจากเดิม ๑๒ หมู่บ้าน ขยายเป็น ๕ ตำบลชายแดน คือ ต.ทุ่งขนาน และ ต.สะตอน อ.สอยดาว, ต.หนองตาคง, ต.เทพนิมิต และ ต.คลองใหญ่ อ.โป่งน้าร้อน จ.จันทบุรี ซึ่งได้แบ่งมอบให้ ชป. รับผิดชอบ ชป.ที่ ๑๑ รับผิดชอบ ๒ ตาบล ต.ทุ่งขนาน (๑๖ หมู่บ้าน), ต.สะตอน (๑๒ หมู่บ้าน) อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ชป.ที่ ๑๒ รับผิดชอบ ๓ ตาบล ต.หนองตาคง (๑๐ หมู่บ้าน), ต.เทพนิมิต (๘ หมู่บ้าน) และ ต.คลองใหญ่ (๗ หมู่บ้าน) อ.โป่งน้าร้อน จ.จันทบุรี
  ฉก.ปชด.ตราด มีพื้นที่รับผิดชอบจากเดิม ๗ หมู่บ้าน ขยายเป็น ๑๒ ตำบล คือ ต.หนองบอน, ต.ช้างทูน, ต.บ่อพลอย, ต.นนทรีย์, ต.ด่านชุมพล อ.บ่อไร่ ต.ท่ากุ่ม, ต.ตะกาง, ต.ชำราก, ต.แหลมกลัด อ.เมืองตราด ต.ไม้รูด, ต.คลองใหญ่, ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ซึ่งแบ่งมอบให้ ชป. รับผิดชอบ ชป.ที่ ๒๑ รับผิดชอบ ๕ ตำบล ต.หนองบอน (๕ หมู่บ้าน), ต.ช้างทูน (๖ หมู่บ้าน), ต.บ่อพลอย (๑๐ หมู่บ้าน), ต.นนทรีย์ (๕ หมู่บ้าน) และ ต.ด่านชุมพล (๗ หมู่บ้าน) อ.บ่อไร่ จ.ตราด ชป.ที่ ๒๒ รับผิดชอบ ๔ ตำบล ต.ท่ากุ่ม (๘ หมู่บ้าน), ต.ตะกาง (๖ หมู่บ้าน), อ.เมือง จ.ตราด ต.ชาราก (๕ หมู่บ้าน), ต.แหลมกลัด (๑๐ หมู่บ้าน) อ.เมืองตราด จ.ตราด ชป.ที่ ๒๓ รับผิดชอบ ๓ ตำบล อ.เมือง จ.ตราด ต.ไม้รูด (๖ หมู่บ้าน), ต.คลองใหญ่ (๙ หมู่บ้าน), ต.หาดเล็ก (๕ หมู่บ้าน) อ.คลองใหญ่ จ.ตราด


 © ศูนย์จัดระบบป้องกันเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด ค่ายตากสิน ต.วัดใหม่ อ.เมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี  22000

โทรศัพท์ 039-321931 (ทร.)37816,37826 (สส.ทหาร) 5412330

Email: [email protected] , www.facebook.com/ssabasc.commumication